กรมอุตุนิยมวิทยา ประกาศเข้าสู่ฤดูฝน เตือนมีมรสุม 27-30 พ.ค.

กรมอุตุนิยมวิทยา ประกาศเข้าสู่ฤดูฝนแล้ว มาเตรียมตัวรับมือพร้อมรู้วิธีเอาตัวรอดจากพายุฝน ถึงแม้ตอนนี้แดดจะยังแรงไม่ตก สภาพอากาศดูไม่ต่างจากหน้าร้อนตอนต้นปีเท่าไร แต่กรมอุตุนิยมวิทยาพยากรณ์อากาศประกาศว่าเริ่มเข้าสู่ฤดูฝน อย่านิ่งนอนใจไปว่าฝนจะไม่ตกเพราะอากาศเดี๋ยวนี้เอาแน่เอานอนไม่ได้ วันดีคืนดีฝนอาจกระหน่ำลงมาแบบกะทันหัน ถ้าไม่เตรียมตัวไว้ก่อนก็อาจได้รับอันตรายจากฟ้าฝนหรือเกิดฟ้าแลบ ฟ้าผ่าได้

กรมอุตุนิยมวิทยา ประกาศเข้าสู่ฤดูฝน จะมีฝนเพิ่ม-ตกหนักบางพื้นที่

กรมอุตุนิยมวิทยา ระบุว่า ในช่วงวันที่ 27-30 พ.ค.66 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย จะมีกำลังแรงขึ้น ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำที่ปกคลุมชายฝั่งประเทศเวียดนามตอนกลางจะเคลื่อนผ่านประเทศไทยลงสู่อ่าวมะตะบัน

ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้น โดยมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น โดยทะเลอันดามันมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนอ่าวไทยมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

สำหรับพยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า มรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณประเทศเวียดนามตอนบนและอ่าวตังเกี๋ย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนฟ้าคะนองกับมีลมกระโชกแรงเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ โดยมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก แต่ยังคงมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน ขอให้ประชาชนระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง รวมทั้งดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันมีกำลังปานกลาง โดยมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองในระยะนี้ไว้ด้วย

พยากรณ์อากาศสำหรับประเทศไทย ประจำวันที่ 25 พ.ค. 2566 ตั้งแต่เวลา 06.00 น.วันนี้ จนถึงเวลา 06.00 น.วันพรุ่งนี้

– ภาคเหนือ มีฝนฟ้าคะนอง 40% ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักและมีลมกระโชกแรงบางแห่ง บริเวณจังหวัดเชียงราย พะเยา น่าน แพร่ อุตรดิตถ์ กำแพงเพชร พิจิตร พิษณุโลก และเพชรบูรณ์ โดยมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส

อุณหภูมิสูงสุด 36-39 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ความเร็ว 10-20 กม./ชม.

– ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีฝนฟ้าคะนอง 70% ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักและมีลมกระโชกแรงบางแห่ง บริเวณจังหวัดเลย หนองคาย บึงกาฬ อุดรธานี หนองบัวลำภู สกลนคร นครพนม ขอนแก่น ชัยภูมิ กาฬสินธุ์ มุกดาหาร ร้อยเอ็ด ยโสธร และนครราชสีมาโดยมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ความเร็ว 10-20 กม./ชม.

– ภาคกลาง มีฝนฟ้าคะนอง 30% ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ส่วนมากบริเวณจังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี สิงห์บุรี พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี สระบุรี กาญจนบุรี และราชบุรี โดยมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 36-38 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ความเร็ว 10-20 กม./ชม.

– ภาคตะวันออก มีฝนฟ้าคะนอง 60% ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักและมีลมกระโชกแรงบางแห่ง บริเวณจังหวัดปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี จันทบุรี และตราด อุณหภูมิต่ำสุด 23-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

– ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีฝนฟ้าคะนอง 30% ของพื้นที่ ในช่วงระหว่างบ่ายถึงค่ำ ส่วนมากบริเวณจังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง และสงขลา โดยมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

– ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีฝนฟ้าคะนอง 40% ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ และตรัง อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

– กรุงเทพและปริมณฑล มีฝนฟ้าคะนอง 40% ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ส่วนมากในระหว่างบ่ายถึงค่ำ โดยมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน อุณหภูมิต่ำสุด 25-29 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-38 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ความเร็ว 10-20 กม./ชม.

โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (25 พ.ค. 66)

กรมอุตุนิยมวิทยา

กรมอุตุนิยมวิทยาประกาศเข้าสู่ฤดูฝน ควรเตรียมรับมือและป้องกันตัวขณะเกิดพายุฝนและหลังพายุฝน

  • คอยติดตามข่าวสารการพยากรณ์อากาศทางวิทยุหรือโทรทัศน์อย่างสม่ำเสมอ
  • รวบรวมและจัดเตรียมชุดอุปกรณ์ฉุกเฉินให้พร้อมใช้งานอยู่เสมอ
  • ประเมินระดับความปลอดภัยของบ้าน รวมทั้งโรงรถและต้นไม้ที่อยู่ใกล้เคียง หากเกิดเหตุไม่คาดฝัน จะส่งผลอันตรายต่อตัวบ้านและชีวิตคนในบ้านหรือไม่
  • เรียนรู้แผนฉุกเฉินประจำสถานที่ที่อาศัยอยู่เป็นประจำ ไม่ว่าจะเป็น ที่ทำงาน มหาวิทยาลัย สถานศึกษา โรงเรียน หรือ ศูนย์เด็กเล็ก
  • เตรียมพร้อมสำหรับการดูแลกลุ่มที่ไม่สามารถดูแลตัวเองได้ เช่น คนพิการ คนชรา หรือแม้แต่สัตว์เลี้ยงที่อยู่ในความดูแล ด้วยการขอคำแนะนำจากแพทย์ผู้ดูแลรักษาอยู่เป็นประจำ หรือสัตวแพทย์ในการดูแลสัตว์เลี้ยงหากเกิดสถานการณ์ฉุกเฉิน
  • เรียนรู้วิธีใช้เครื่องกำเนิดไฟฟ้าเบื้องต้น หรืออุปกรณ์ยังชีพอื่น ๆ ที่จำเป็น
  • เติมน้ำประปาสำรองใส่ถังน้ำหรืออ่างอาบน้ำสำหรับใช้ในห้องน้ำและทำอาหาร เผื่อเอาไว้ในกรณีที่ไฟฟ้าดับ
  •  ชาร์จแบตฯ มือถือให้เต็มและเตรียมเบอร์โทรศัพท์ฉุกเฉินเอาไว้ เผื่อเกิดเหตุฉุกเฉินหรือมีคนได้รับอันตรายจากฟ้าผ่า

วิธีเตรียมตัวก่อนเกิดพายุฝน

1. วางแผนล่วงหน้าให้รอบคอบ โดยติดตามฟังพยากรณ์อากาศเป็นประจำ หากวันไหนที่คาดว่าจะมีพายุฝนควรหลีกเลี่ยงสถานที่ที่เสี่ยงอันตราย

2. หากต้องเดินทางออกนอกบ้านให้สังเกตสภาพฟ้าอากาศอย่างต่อเนื่อง เช่น ฝนตก ฟ้ามืด หรือลมแรงผิดปกติ เพราะเป็นสัญญาณที่แสดงว่าพายุฝนกำลังจะเคลื่อนเข้ามา

3. คำนวณจากเสียง หากเห็นแสงฟ้าผ่าและเสียงฟ้าร้องตามมาอีก 30 วินาทีให้หลัง ควรรีบหาที่หลบทันที

4. เตรียมไฟฉายหรือเทียนเอาไว้ใช้ช่วงไฟฟ้าดับ

5. เตรียมเบอรโทศัพท์ฉุกเฉินเอาไว้ เผื่อเกิดเหตุฉุกเฉินหรือมีคนได้รับอันตรายจากฟ้าผ่า

วิธีป้องกันตัวขณะอยู่บ้าน

  1. ตั้งสติให้มั่น อย่าตกใจจนเกินกว่าเหตุ ค่อยๆ คิดหาวิธีป้องกันตนเองให้ปลอดภัยและช่วยเหลือผู้อื่นต่อไป
  2. ปิดหัวเตาขณะทำอาหารเมื่อไฟฟ้าดับและปิดอุปกรณ์ที่ใช้แก๊สทุกชนิด
  3. ถ้าต้องอยู่ภายในบ้านหรือในอาคาร เคลื่อนตัวให้ห่างออกจากหน้าต่างหรือวัตถุอื่น ๆ ที่อาจหล่นลงมาจนได้รับอันตราย และควรลงไปอยู่บริเวณชั้นล่างของบ้านหรือของอาคารแทน
  4. หากอยู่นอกตัวบ้าน ควรเข้าไปอยู่ในบ้านหรืออาคาร หลีกเลี่ยงการเข้าใกล้สายไฟฟ้าที่ขาด เสาไฟฟ้า และต้นไม้
  5. หากกำลังขับขี่ ควรจอดรถ และหยุดอยู่ในบริเวณที่ห่างจากต้นไม้ ถ้าเป็นไปได้ให้วิ่งเข้าไปอยู่ในอาคารที่ปลอดภัย และอยู่ให้ห่างจากสะพานลอย เสาไฟฟ้า และสิ่งอันตรายอื่นๆ
  6. คอยรับฟังข่าวสารทางวิทยุหรือช่องทางอื่นๆ ที่เป็นไปได้อยู่อย่างเสมอ
  7.  ให้นำสัตว์เลี้ยงเข้าบ้านทันที เพราะบ้านสัตว์เลี้ยงทุกชนิดไม่สามารถป้องกันฟ้าผ่าได้ และปลอกคอสัตว์ส่วนใหญ่ก็เป็นสื่อล่อฟ้าด้วย
  8. ปิดประตูกับหน้าต่างทุกบานให้สนิท และพยายามอยู่ห่างหน้าต่างเอาไว้
  9. งดใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าและอุปกรณ์ที่ทำมาจากโลหะในระหว่างที่มีพายุฝน เพราะกระแสไฟอาจวิ่งเข้าสู่ร่างกาย นอกจากนี้ไม่ควรยืนพิงหรือสัมผัสผนังคอนกรีต เนื่องจากผนังคอนกรีตส่วนใหญ่มีโครงสร้างภายในที่เป็นสื่อนำไฟฟ้า
  10. ในระหว่างที่มีพายุฝนควรอยู่ในบ้านตลอด และหากต้องการจะออกจากบ้านควรรอหลังฝนหยุดสนิทแล้ว 30 นาที เพื่อลดความเสี่ยงจากเหตุฟ้าผ่าที่มากับพายุฝน

วิธีป้องกันตัวเมื่ออยู่นอกบ้าน

1. หลบเข้าชายคาทันที ไม่ควรรีรอหรือชะล่าใจรอให้เกิดฟ้าผ่าก่อนแล้วค่อยหาที่หลบ เพราะเกิดอันตรายจากฟ้าผ่าได้เสมอ หลีกเลี่ยงการหลบฟ้าฝนใต้ต้นไม้หรืออาคารขนาดเล็ก ๆ เช่น ห้องน้ำสาธารณะ หรือมีแค่กันสาดกันฝน เนื่องจากโครงสร้างประเภทนี้ไม่สามารถป้องกันฟ้าผ่าได้ อีกทั้งอาจได้รับอันตรายเมื่อต้นไม้หรือโครงสร้างถูกหักโค่นลงมาด้วย

2. หลีกเลี่ยงจากแหล่งน้ำ เช่น สระว่ายน้ำหรือบ่อน้ำ หากอยู่ในน้ำขณะมีพายุฝนให้รีบขึ้นจากน้ำทันที ไม่เช่นนั้นอาจได้รับอันตรายในขณะที่มีพายุฝน

3. เมื่อต้องหลบฝนร่วมกับผู้อื่น ควรรักษาระยะห่างแต่ละคนไว้ประมาณ 15.2-30.5 เมตร เพื่อป้องกันไม่ให้กระแสไฟวิ่งเข้าสู่ร่างกายคนรอบข้างเมื่อมีคนโดนผ่าฟ้า

4. หากมีฟ้าผ่าลงมาบริเวณใกล้เคียง ให้นั่งยอง ๆ เท้าชิด ก้มหน้าซุกระหว่างเข่า มือปิดหูหรือจับเข่าไว้ แม้ท่านี้จะช่วยป้องกันจากอุบัติเหตุไม่ได้ 100% แต่ก็ช่วยลดความรุนแรงอาการบาดเจ็บที่อาจเกิดขึ้นกับอวัยวะภายในเมื่อโดนฟ้าผ่าได้วิธีช่วยเหลือผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บจากฟ้าผ่า

  • เคลื่อนย้ายผู้ป่วยออกจากสถานที่เกิดเหตุ ก่อนฟ้าผ่าซ้ำลงมาที่เดิม โดยผู้ช่วยสามารถสัมผัสร่างกายผู้ป่วยได้ทันที เนื่องจากผู้ป่วยที่โดนฟ้าผ่าจะไม่มีกระแสไฟฟ้าหลงเหลืออยู่ในตัวต่างจากผู้ป่วยที่โดนไฟฟ้าช็อต
  • ผายปอดโดยการเป่าปากสลับกับนวดหัวใจ ก่อนนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลต่อไป

หลังพายุฝนสงบแล้ว ต้องทำอย่างไรฟื้นตัวให้ได้ไวทั้งบ้านและคน

  1. ตรวจสอบอาการบาดเจ็บของตัวท่านและบุคคลรอบข้าง
  2. อพยพจากอาคารที่ได้รับความเสียหายและห้ามเข้าไปในอาคารดังกล่าวจนกว่า ทางราชการจะประกาศรับรองความปลอดภัย
  3. โทรแจ้ง 191 เฉพาะกรณีฉุกเฉินที่เป็นอันตรายถึงชีวิต
  4. ถ้าได้กลิ่นแก๊สหรือได้ยินเสียงวัสดุเสียดสีกัน ให้รีบปิดถังแก๊สและเปิดหน้าต่างแล้วหนีจากอาคารโดยเร็ว ห้ามใช้ไม้ขีดไฟ จุดเทียน จุดไฟ หรือเปิดสวิตช์ไฟฟ้าในอาคาร
  5. ให้ความช่วยเหลือจากเพื่อนบ้าน หากภายในตัวบ้านมีเด็ก คนชรา หรือ ผู้พิการ
  6. ติดต่อขอความช่วยเหลือโดยใช้โทรศัพท์ทางไกลและหลีกเลี่ยงการใช้โทรศัพท์ระดับพื้นที่
  7. คอยติดตามรับฟังข่าวสารทางวิทยุเพื่อปฏิบัติตามคำสั่งหรือรับแจ้งว่าพายุได้สงบลงแล้ว โดยปกติสถานีวิทยุจะแจ้งสถานที่หลบภัยฉุกเฉิน สถานที่ให้บริการด้านสุขอนามัยและรายงาน ความเสียหายที่เกิดขึ้น

เพราะอุบัติเหตุสามารถเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ โดยเฉพาะในหน้าฝนแบบนี้ด้วยแล้วยิ่งเกิดอุบัติเหตุได้ง่ายกว่าปกติ ฉะนั้นไม่ว่าจะเดินทางไปไหนมาไหนหรืออยู่บ้าน นอกจากจะเพิ่มความระมัดระวังในการใช้ชีวิตแล้ว ก็อย่าลืมเตรียมตัวรับมือและหาทางป้องกันตัวเองเอาไว้ด้วยนะคะ
ที่มา

https://www.infoquest.co.th/2023/304142

https://www.smk.co.th/newsdetail/1632

https://www.matichon.co.th/region/news_1670208

https://www.prachachat.net/general/news-531376

 

ติดตามอ่านข่าวทั่วไปได้ที่  eveahmed.com  สนับสนุนโดย ufabet369.net